หมดกังวลเตรียมตัวส่งลูกเข้าเรียนอนุบาล

วันนี้ครอบครัวผมได้ส่งผมไปเป็นตัวแทนประชุม ‘ปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนใหม่’ เพื่อได้ทราบนโยบายของโรงเรียนของน้องพอร์ช และแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจในเรื่องลักษณะแรกเข้าของนักเรียนใหม่ และบทบาทของพ่อแม่ในการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียนของลูกปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

เมื่อผมมาถึงโรงเรียนลูกเริ่มต้นจากการลงทะเบียนผู้ปกครอง พร้อมรับเอกสารประกอบการปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนใหม่

จากนั้นคุณครูก็ได้บอกเล่าในเรื่องจะมีการทำกิจกรรมในระหว่างเรียน ไหนคุณพ่อคุณแม่ท่านใดเต้นได้บ้างยกมือขึ้น “เอาละซิ… จะทำอย่างไรหละทีนี้ งานเข้าแล้ว อายเขาสิ” 

ครูได้บอกว่าไม่เป็นไรค่ะครูล้อเล่น เดี๋ยวครูเต้นให้ดูเอง ‘ผมเลยนี่โล่งใจสุดๆ ครับ…’ 5+

4ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

หลังจากนั้นก็เข้าสู่การปฐมนิเทศผู้ปกครองอย่างเป็นทางการแล้วหละครับ ครูได้บอกเวลารับส่งลูก และข้อห้ามต่างๆ ที่จะขอความร่วมมือกับผู้ปกครองในเรื่องต่างๆ เช่น คุณพ่อคุณแม่ควรงดเล่นมือถือในสนามเด็กเล่น ไม่ควรให้เด็กอยู่ตามลำพัง และใช้สนามเด็กเล่นได้แค่ 17.30 น. เพราะลุงจะมาทำความสะอาด

ส่งลูกเข้าเรียน4

สำหรับเด็กที่ไม่ยอมแต่งชุดนักเรียนมาเรียน ก็ไม่ต้องบังคับเด็กจนไม่อยากมาโรงเรียน ครูบอกให้มาทั้งชุดนอนได้เลย ทางโรงเรียนจะจัดการให้เองค่ะ เพราะเด็กยังต้องปรับตัวกับการใช้ชีวิตใหม่อยู่ และพ่อแม่ต้องนำเด็กมาตรวจสุขภาพกับครูทุกวันตอนเช้านะ

ส่งลูกเข้าเรียน2

สำหรับที่บ้านพ่อแม่ต้องอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังอย่างน้อยวันละ 1 เล่ม มายืมที่ห้องสมุดได้ครั้งละ 3 เล่ม อยู่ได้ 3 วันต้องนำมาคืน สำหรับครอบครัวเดี่ยวที่พ่อแม่ทำงานทั้งคู่ ควรต้องหาเวลาอ่านหนังสือนิทานให้ลูกทุกวันให้ได้ ไม่มีข้ออ้างนะครับ

ส่งลูกเข้าเรียน3

จากนั้นครูได้เล่าถึงประวัติของโรงเรียนอนุบาลนี้ว่าเปิดมาตั้งแต่ปี 2500 ซึ่งย้ายมาจากที่แรกโดยมาตั้งที่นี่ และบอกเกี่ยวกับการเรียนการสอนของที่นี่จนละเอียดครับ

6ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

7ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

8ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

9ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

10ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

11ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

12ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

13ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

14ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

หลังจากนั้นพวกเราพ่อแม่ได้ฟังวิทยากรรับเชิญ คุณครูหวาน อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข มาให้ความรู้กับคุณพ่อคุณแม่เรื่องการเลี้ยงลูกน้อย

27ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

ครูหวานบอกว่าครั้งแรกในการปรับตัวเด็กใหม่ จะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ เด็กที่ร้องโวยวายตั้งแต่วันแรกจะดูแลไม่ยากนัก แต่เด็กที่มาร้องกระซิกๆ หรือมาร้องให้ในวันหลังๆ จะดูแลอยากกว่า

16ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

ส่วนใหญ่พ่อแม่จะกลัวเรื่องสุขภาพของลูกตอนมาโรงเรียน เพราะตอนนี้โรคที่ระบาดในเด็ก เช่น โรคมือเท้าปาก ก็เป็นโรคที่มีมาแต่ดั้งเดิม แต่เชื้อโรคแข็งแรงมากขึ้น ประจวบกับเด็กส่วนมากร่างกายอ่อนแอลง ครูแนะนำให้เด็กออกกำลังกายทุกวัน ตอนนี้ไข้หวัดมีหลายสายพันธ์ ต้องทำอย่างไรให้เด็กมีภูมิต้านทานสูง

  1. พ่อแม่ควรล้างมือกับลูกบ่อยๆ ให้เป็นนิสัย
  2. เด็กต้องดื่มน้ำเยอะๆ จิบน้ำบ่อยๆ ช่วยให้มีการไหลเวียนในร่างกาย และสมองแจ๋มใส
  3. ใช้กระติ๊กน้ำที่มีสเกลระดับน้ำ จะได้เช็คปริมาณน้ำที่เด็กได้รับแต่ละวัน
  4. ไม่ควรไปนอนโรงพยาลบ่อยเพื่อใช้ประกันสุขภาพ เพราะเด็กจะไปรับเชื้อโรค ไม่คุ้มกันเลย
  5. ลดการใช้ยาปฎิชีวนะ เพราะร่างกายมนุษย์มีกลไกลที่จะสร้างภมูิต้านทานเองได้ ถ้าใช้ยาบ่อยๆ เด็กจะสูญเสียภูมิต้านทานนะ

22ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

เด็กแรกเข้าเรียนจะมีสภาพอารมณ์ไม่ค่อยแจ๋มใส อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เด็กทานข้าวน้อยลงกว่าปกติ พ่อแม่ไม่ต้องเป็นกังวล สำหรับการทานข้าวของลูก ต้องให้เด็กจบการทานข้าวคำสุดท้ายเองให้ได้นะครับ เพราะจะทำให้เด็กมีความมั่นใจในการทานครั้งต่อไป

พร้อมกับชมเชย เด็กจะทานข้าวเองเก่งขึ้น เช่น  พูดว่า… ‘จะหมดแล้วนะลูก คำสุดท้าย ลูกทานเองซิครับ’

23ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

การทานอาหารของเด็ก 2 ขวบ ให้ในปริมาณน้อยๆ ก่อน และค่อยๆ เพิ่มในจานไปเรื่อยๆ เอาพออิ่มอร่อย เด็กจะทานได้มาก

ส่วนเด็ก 3 ขวบ ถ้าพ่อแม่เดินตามป้อนให้เลิกซะ ต้องให้เด็กตั้งหลักในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ได้ โดยการยืนยันกับเด็กว่าหนูต้องทำให้ได้

24ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

 

‘พ่อแม่เราๆ ไม่ควรประเมินค่าเด็กต่ำกว่าศักยภาพ เพราะลูกทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด’

25ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

มีข้อคิดดีๆ สมุติว่า… ถ้าวันหนึ่งมีคนมาโขมยตัวคุณพ่อคุณแม่ไปจากลูกๆ จะอยู่อย่างไรในวัย 0 – 12 ปี?

  1. ต้องหัดให้เด็กช่วยเหลือตัวเองให้ได้
  2. ให้อยู่ร่วมกับคนอื่นได้
  3. รู้จักตัวเอง มีทัศนคติที่ดีต่อตัวเองและโลกใบนี้
  4. รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีวินัย
  5. รักการเรียนรู้

สิ่งที่น่าคิด… 

‘พ่อแม่มีโอกาสลงทุนที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับลูก แค่ 12 ปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นเด็กจะมีสังคมใหม่ และจะห่างจากพ่อแม่’

ถ้าพ่อแม่ดูแลลูกดี เด็กจะดีไปตลอดชีวิต ยิ่งใหญ่กว่าการลงทุนในธุรกิจเสียอีก เพราะพ่อแม่จะมีความสุขมาก ก็ตอนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้ปลูกให้กับลูกไว้ครับ เหมืออนการก่อกำแพงอิฐก่อนแรกๆ ต้อแข็งแรงงมั่นคง เราไม่มีทางเอาเวลาของลูกกลับคืนมาได้

17ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

พ่อแม่ต้องสอนลูกแบบนกในภาพ เพราะต้องให้ลูกเผชิญโลก ละอยู่ได้ด้วยตัวเอง

อย่าให้เด็กมีโลก 2 ใบ  คือ ใบที่ 1 เก่งตอนอยู่โรงเรียน ส่วนใบที่ 2 พ่อแม่ตามอุ้มตามป้อน แก้ไขโดยต้องหัดให้เด็กกินง่ายอยู่ง่าย กินผักได้ และเมื่อลูกทำได้ดี ให้เชียร์แรงๆ การก้าวข้ามใจครั้งที่หนึ่ง สำคัญมากที่สุด

3 ขวบแรก สำคัญที่สุด เพราะ EF (Executive Function Skill) จะรวมประมวลศักยภาพสมองของมนุษย์ เป็นกองบัญชาการของสมอง เด็กจะมีการพัฒนาสมองต่างๆ ได้ดีมากในช่วงนี้

  1. เรียนแบบได้เก่ง มีความจำดี
  2. คิดสร้างสรรค์ดี
  3. ยั้งคิดไตร่ตรองตั้งแต่วัยเล็ก
  4. วินัยฝีกควบคุมอารมณ์

19ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

20ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

21ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

การอยู่ร่วมกับลูกในบ้าน ต้องไม่ให้ลูกเป็นเสหมือนแขกในบ้านที่เราต้องต้อนรับหรือไม่ให้ทำอะไรเลย  ทางที่ดีจะต้องให้ลูกมีส่วนร่วมในงานบ้านมากที่สุด พ่อแม่ต้องใช้อำนาจเชิงบวกและใจต้องแข็ง เมื่อสอนลูกต้องยืนยันด้วยเทคนิคสงบ และยืนยันด้วยความคิด เช่น บอกมาว่าอันนี้ซื้อไม่ได้ ไม่ซื้อ ทำการยืนยันชัดเจน มีเหตุผล

‘สอนด้วยรัก สอนด้วยความสุข’ 

‘ต้นไม่งดงามได้ ต้องมีการตัดแต่งกิ่ง’

ถ้ามีเรื่องอะไรให้คุยกับครูโดยตรง ไม่ควรส่งใครไปเจราจาแทน ไม่ต้องกลัวครูเกลียดลูก

26ครูหวาน ธิดา พิทักษ์สินสุข

เด็ก 0 – 6 ปี จะทำงานกับจิตใต้สำนึกของลูก เด็กจะจดจำ ให้คำปรึกษาที่ดีกับลูก ต้องใช่เทคนิคอำนาจเชิงบวกของพ่อแม่ด้วย พ่อแม่ต้องช่วยกันตั้งเป้าหมายให้ลูก พาเขาเดินเข้าสู้เป้าหมาย และเป้าหมาย ก็คือลูกนั่นเองครับ

28ปฐมนิเทศผู้ปกครอง อ.1

หลังจากฟังบรรยายเสร็จแล้ว ครูก็พาพ่อแม่ไปยังห้องที่ลูกพวกเราเรียนกัน เพื่อไปพูดคุยในแบบการเรียนการสอน และให้ดูสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนครับ

‘การที่ผมได้มาฟังในวันนี้ ทำให้ผมได้รับประโยชน์มากครับ เพื่อนำไปพูดคุยกันในครอบครัว จะได้นำไปใช้กับลูกอย่างถูกวิธี และได้ร่วมมือกับโรงเรียนในการสร้างคนจริงๆ ครับ’

2 thoughts on “หมดกังวลเตรียมตัวส่งลูกเข้าเรียนอนุบาล

  1. What are the key policies and important practices discussed at the “New Student Orientation for Parents” meeting at Porch School that I attended today? Specifically, I would like to know about understanding the initial adaptation of new students and the role of parents in supporting their child’s learning in collaboration with the school.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *