สุนทรียศาสตร์ แก้โรคเด็กไร้รัก

‘สุนทรียศาสตร์ แก้โรคเด็กไร้รัก : อีคิว+ไอคิว อย่างเดียวทำไม่ได้ ‘

สุนทรียศาสตร์ แก้โรคเด็กไร้รัก

อีคิว+ไอคิว ทำให้เด็กๆ รู้จักตัวเองดีขึ้น แต่กลับไม่สามารถจัดการความสัมพันธ์กับคนอื่นได้ หากจะแก้ความกระด้างในจิตใจคงต้องเพิ่ม สุนทรียศาสตร์ เข้าไปครับ

ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยเรื่องความสวยงาม ความไพเราะ และศิลปะ สามารถรับรู้ด้วย ประสาทสัมผัส จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกปิติยินดี อิ่มเอมใจ พอใจ และชื่นชมในสิ่งต่างๆ ทำให้พวก เขารู้จักเข้าอกเข้าใจคนอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อเป็นหนทางไปสู่คนดีของสังคมในอนาคตครับ

อันที่จริง แนวคิดนี้สืบเนื่องมานานนับพันปีแล้ว แต่ถูกลืมเลือนเพราะโลกเทคโนโลยีในสังคมที่ เน้นความเร็ว สะสมเชิงปริมาณ แต่ไม่มีคุณภาพ พ่อแม่ต้องแสดงบทบาทเพื่อนแท้ของลูก โดยทำให้ทุกอย่างช้าลงและใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะ

ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์ จิตรกรและนักคิด แนะนำว่าครอบครัวต้องมีเวลาให้กัน ควรสนใจตัวเอง และคนที่รัก เพื่อรับรู้ความรู้สึกสุขทุกข์ และจะได้เลือกสรรวัตถุดิบที่ดีให้กับลูก เพราะเด็กจะโตขึ้นมา จากสิ่งที่เขาเสพทุกวัน การพิถีพิถันหาสิ่งบรรดามีใส่ตัว ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าที่ผลิตจากใยฝ้าย แทนที่ใยสังเคราะห์ ซึ่ง พร้อมดูดพลังของเราทุกเมื่อ

หรือเพิ่มคุณค่าผักปลอดสารพิษและวิตามินให้เป็นมากกว่าอาหารที่กินไป วันๆ โดยคิดถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวบ้าง เปลี่ยนจากกินข้าวใต้แสงนีออน แล้วออกมาสัมผัสกับสวน ต้นไม้นอกบ้านดีกว่า หรือจะออกไปท่องเที่ยวดูพระอาทิตย์ตกดิน ก็ควรใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงเพื่อซึมซับ บรรยากาศรอบข้าง และสัมผัสความรู้สึกของคนในครอบครัวให้มากขึ้น

“พ่อแม่เป็นที่มาของความผูกพันในเด็ก คนจะมีความสุขได้ เขาต้องมีความสามารถที่จะมี ความสุข เมื่อเขาโตขึ้นท่ามกลางความรัก ไว้วางใจ เชื่อใจกัน แล้วยิ่งเติมสุนทรียศาสตร์ให้เขาอิ่ม จะช่วยเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้เป็นมนุษย์ที่แท้จริง”

นอกจากศิลปะแล้ว พ่อแม่ควรใช้ดุริยางค์ /ดนตรี ประกอบกันด้วย เพื่อทำให้สุนทรียศาสตร์สมบูรณ์ หัวหน้าอดีตวงแกรนด์เอ็กซ์ นคร เวชสุภาพร บอกว่าการลงทุนตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปีให้กับ ลูกชายคนโต โต๋-ศักดิ์สิทธิ์ เจ้าของท่อนเพลงฮิต “อ่านปากของฉันนะ ว่ารักเธอ” นั้นคุ้มค่า

คุณพ่อศิลปินไม่ได้ยัดเยียดดนตรีศิลป์ใส่สมองน้อยๆ แต่ผลักดันศาสตร์ความงามที่แท้จริงคือ ความรักที่จะสร้างศิลปะให้กับลูกชายตัวน้อยต่างหาก

ความดีงามของดนตรีจะเป็นอาหารใจหรือ อาหารทางจิตวิญญาณแก่ลูก “เราเห็นธรรมชาติว่าดนตรีอยู่คู่กับการกำเนิดของเด็ก พ่อแม่คุยกับเขา ด้วยท่วงทำนองดนตรีโดยไม่รู้ตัว เช่น พ่อแม่รักลูกนะ แล้วลากเสียง บ้างพยายามแต่งเพลงเพื่อสื่อ วิญญาณพ่อแม่สู่ลูก แล้วก็หาเพลงกล่อมเด็กมาร้องให้เขาฟัง

ทุกวันนี้เรายังร้องได้ แม้จะไม่เข้าใจ ความหมายเลยก็ตาม เพราะมันหยั่งรากฝังลึกในความรู้สึกของเราไปแล้ว นั่นแสดงว่าธรรมชาติของ ดนตรีอยู่ในสายเลือดมนุษย์ “จิตวิญญาณกับความงดงามของดนตรีสัมพันธ์กันอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงควรนำมาใช้ควบคุม อารมณ์ สมาธิ วุฒิภาวะ และจิตใจเมตตา

และดนตรีให้แก่เด็ก ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสมองและจิตใจที่ แข็งแกร่ง เพื่อเติมพลังชีวิต กล้าตัดสินใจ และเป็นภูมิคุ้มกันชั้นยอด เป็นแหล่งพึ่งพา ส่งผลดีกับชีวิต ของเขา ความดีเหล่านี้จะส่งต่อสู่สังคมเอง

“ผมว่าเราควรบรรจุวิชาจินตนาการในหลักสูตรการศึกษาดีไหม มาสร้างระบบการศึกษา กันเองตั้งแต่เด็กๆ สอนความรู้สึก วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ โดยใช้สุนทรียศาสตร์ บอกให้เด็กรู้ว่า ดนตรีเป็นเรื่องของอำนาจ สร้างการเปลี่ยนแปลง กระตุ้นการพัฒนา และนำพาความเจริญได้ เป็นวิชาของนักปราชญ์ที่จะสร้างคนดีและคนเก่งในคนเดียวกัน และเป็นอาชีพที่คิดค่าจ้างเป็นวินาที” รศ.ดร. สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ในฐานะคุณพ่อที่เลี้ยงลูกด้วยดนตรี และคลุกคลีกับตัวโน้ตมาทั้งชีวิต เห็นพ้องกับคุณพ่อของโต๋ ด้านจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมองเด็ก นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร รองประธาน กรรมการฝ่ายพัฒนาความรู้ บริษัท รักลูกกรุ๊ป จ ากัด ก็เห็นด้วยกับทุกความคิด และยืนยันว่าทั้งดนตรี และศิลปะ รวมทั้งการเล่านิทาน ล้วนเป็นสุนทรียศาสตร์ ที่ช่วยพัฒนาเซลล์กระจกเงาในสมอง ซึ่ง เชื่อมโยงการทำงานสมองทั้งสองซีกของหนูน้อย

คุณหมอเล่าประสบการณ์สัมมนากับแพทย์กลุ่มหนึ่งโดยใช้นิทานเป็นสื่อพบว่า หมอไม่เห็น ความทุกข์ของคนไข้ จะใช้เพียงหลักการที่เรียนมาเท่านั้น จึงทดลองให้ฟังและวิจารณ์เพลงเพื่อดึง ความรู้สึก ให้เลิกใช้เหตุผลบ้าง แล้วให้ลองอ่านและวิจารณ์หนังสือ และทำงานศิลปะ เพราะอยากรู้ จุดยืนที่สะท้อนตัวตน และมองเห็นความรู้สึกของแต่ละคน

ผลที่ได้น่าพอใจมาก คุณหมอทั้งหลายไวต่อความรู้สึกของผู้ป่วยมากขึ้น สามารถวินิจฉัยโรค แม่นยำ เพราะร่วมมือและเข้าใจกับคนไข้ จึงยิ่งตอกย้ำว่าสุนทรียศาสตร์แก้ปัญหาได้จริง และจะดีมาก ถ้าปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็ก

“ศิลปะทำให้มนุษย์ฉลาดขึ้น เพราะสามารถสร้างแรงจูงใจ มีสมาธิสูงขึ้น ส่วนดนตรีทำให้ เด็กอ่านหนังสือดีขึ้น เรียงลำดับความคิด และมีพัฒนาการทางภาษาดีกว่าเด็กที่ไม่สนใจดนตรี แถมยัง มีความสามารถแยกแยะเสียงได้ดี กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ แล้วยิ่งได้สัมผัสดนตรี สมองจะทำงาน เชื่อมโยงทั้งก้อน ทำให้เกิดมิติสัมพันธ์ พัฒนาเป็นวงจรความสุขในที่สุด” แล้วความสุขอันเกิดจาก สุนทรียศาสตร์ จะสร้างโอกาสอยู่รอดของเด็กไทยในยุคไฮสปีดได้ครับ

ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *