วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องที่ผมได้อ่านบทความของหนังสือเล่มหนึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่และลูก ๆ ของเรา จึงเอามาแบ่งปันให้อ่านกันครับ
‘เลี้ยงลูกแบบเรา’ : ส่วนหนึ่งจากในหนังสือ NEW SILK ROAD MAGAZINE
ไม่ได้มีการเลี้ยงลูกแบบไหนที่เหมาะกับเราที่สุดหรอกครับ การหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมากมาย เพื่อดูว่าต้องเลี้ยงลูกอย่างไร แน่นนอนข้อมูลบางอย่างนั้นจำเป็น เช่น การโภชนการ การศึกษา แต่ในอีกหลายข้อมูลล้นหัวกลับไม่ได้ช่วยอะไรแต่อย่างใดเลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการอบรมสั่งสอนลูกและการฝึกวินัย พ่อแม่หลายคนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรและก็ลองทำแบบลองผิดลองถูก
จริงอยู่ว่าถ้าพ่อแม่ถูกสอนมาดีก็มักจะเลี้ยงลูกดี แต่ก็มีพ่อแม่หลายคนที่ไม่ได้ถูกสอนมาดีตอนเด็ก เติบโตมาในสภาพแวดล้อมย่ำแย่แต่สามารถเลี้ยงลูกให้ดีได้โดยไม่ต้องง้อหนังสือหรือตำรา และน่าจะเข้าได้กับการเลี้ยงลูกแบ ‘เรา’
ลองมองย้อนกลับไปสมัยเป็นหนุ่มสาวใรรั้วมหาวิทยาลัย…
เวลาเราตกหลุมรักใครคนหนึ่ง เรามักจะโลกสวยเชื่อว่าเค้าเป็นคนดี น่ารัก ใจดี ต่าง ๆ นานา แต่พอคบไปนาน ๆ ก็เริ่มเห็นว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คิด และก็ลงเอยด้วยการเลิกรา
ทำไมความรักมันช่างโหดร้ายแบบนี้ จริงแล้วความรักไม่ได้โหดร้ายแต่เราเข้าใจมันผิดไป เพราะเข้าใจว่าต้องรักก่อนแล้วค่อยรู้จัก อย่างนี้เค้าเรียกว่ารักไม่เป็น
การมีลูกก็เหมือนกันครับ ก่อนมีลูกเราก็จะคาดหวังต่าง ๆ นานา ว่าลูกเราจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้จนเกิดเป็นความรัก แต่พอได้รู้จักลูกของเราแล้วหลายอย่างมักไม่ได้เป็นไปอย่างที่ใจคิดก็ต้องผิดหวังเป็นธรรมดา
ดังนั้นถ้าเรารู้จักลูกของเราให้ดีก่อน แล้วค่อยรักจะทำให้เราวางแผนเป็นว่าจะรักอย่างไรให้พอเหมาะ ไม่มากไป ไม่น้อยไป
คำถามต่อมาคือ เราจะรู้จักลูกเราได้อย่างไร…
อันนี้ตอบยากครับ ทางทฤษฎีเค้าว่าเด็กมักจะมีพื้นอารมณ์ (Temperament) แตกต่างกันออกไป พื้นอารมณ์นี้ไม่สามารถคาดเดาจากพ่อแม่ได้แต่อย่างใด ไม่ใช่ว่าพ่อแม่เป็นคนสนุกสนานลูกก็จะเป็นคนขี้เล่น ไม่ใข่ว่าแม่จริงจังแล้วลูกต้องสุขุมเรียบร้อย ไม่มีอะไรบอกได้เลยครับ
แต่พ่อแม่สามารถสังเกตพื้นฐานอารมณ์ได้เองตั้งแต่เด็กคลอด ดูง่าย ๆ ว่าเด็กต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน ส่วนใหญ่ก็จะเป็น กิน นอน อึ ฉี่ ร้อง และเล่น ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนไปกว่านี้
พื้นอารมณ์สามารถแบ่งเด็กออกได้เป็นสองกลุ่มคร่าว ๆ ได้แก่เด็กเลี้ยงง่ายและเด็กเลี้ยงยาก
เด็กเลี้ยงง่ายก็มักเป็นเด็กที่มีกิจกรรมเป็นเวลา ให้กินอะไรก็กิน ให้นอนตอนไหนก็นอน ซึ่งพ่อแม่ทุกคนก็ปรารถนาอยากได้ลูกแบบนี้
ในกรณีของเด็กเลี้ยงยากที่กิจกรรมมักคาดเดาได้ยากคงทำให้พ่อแม่ต้องเหนื่อยไปตาม ๆ กัน แล้วเราจะเข้าใจเด็กได้อย่างไรบ้าง
ถึงจุดนี้พ่อแม่หลายคนที่อ่านคู่มือเลี้ยงลูกมาหลากหลายเล่มคงเข้าใจว่าหนังสือทุกเล่มก็บอกเหมือน ๆ กันทำนองว่าอย่าดุเด็ก ทำดีให้คำชม ทำไม่ดีแต่ไม่อันตรายให้เพิกเฉย แต่ถ้าอันตรายต้องมีบทลงโทษเพื่อให้จำ และห้ามลงโทษด้วยการตี เพราะยิ่งทำให้เด็กต่อต้าน
ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ถูกต้องอย่างยิ่งครับ แต่หนังสือไม่ได้บอกวิธีแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจงกับลูกของเราที่เป็นเด็กเลี้ยงยาก สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องเข้าใจคือ เราไม่ได้มีหน้าที่แค่ทำตามคู่มือเลี้ยงลูกอย่างเดียว แต่เรามีหน้าที่แก้ปัญหาด้วยและการแก้ปํญหาเด็กนั้น มันไม่ได้มีอยู่ในคู่มือ
คำถามต่อมาคือ เราจะแก้ปัญาหาเด็กเลี้ยงยากได้อย่างไร
เรียกได้ว่าทักษะการแก้ปํญหา (Problem Solving/ Trouble Shooting Skills) แต่ละคนแตกต่างกันและสอนยาก วิธีแก้ปัญหาของครอบครัวหนึ่งอาจใช้ไม่ได้กับอีกครอบครัว
ดังนั้นเราต้องสร้างวิธีแก้ปัญหาของเราเองและเริ่มรู้จักลูกเราให้มากขึ้น ทุกอย่างมันต้องมีเหตุและผลครับ ไม่มีทางที่ปัญหาเด็กจะเกิดขึ้นมาเอง ถ้าเรายังหาเหตุผลไม่ได้ไม่ใช่ว่ามันไม่มีเหตุผล เพียงแต่เรายังหามันไม่เจอเท่านั้นเอง
หลักการวิเคราะห์ง่าย ๆ คือ ‘ABC’
A = Antecedent หรือเหตุการณ์ก่อนที่จะเกิดพฤติกรรม
B = Behavior หรือพฤติกรรมปัญหา
C = Consequence หรือผลจากการที่เด็กมีพฤติกรรม
ถ้าพ่อแม่เข้าใจหลักการนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในแต่ละเรื่องได้
ขอยกตัวอย่างปัญหา
(Behavior) ที่พบได้บ่อย เช่น ลูกไม่ยอมกินข้าวจะทำอย่างไร ให้ลองวิเคราะห์ว่าเหตุการณ์ก่อนที่จะเกิดปัญหา (Antecedent) นั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง เช่น เด็กอาจะเล่นเกมอยู่หรือเด็กอาจจะเพิ่งกินขนมมาเลยไม่หิว
และลองวิเคราะห์ผลจาการที่เด็กไม่กินข้าว (Consequence) เช่น พ่อแม่สนใจเด็กมากขึ้นหรือพ่อแม่ตามใจเด็กในเรื่องอื่นๆ เพื่อยอมให้เด็กกินข้าว
ต่อมาคือเราอย่าแก้ปัญหาที่ Bahavior โดยตรงเพราะเหมือนไม่ได้แก้ที่ต้นตอของปัญหา ให้แก้ปัญหาที่ Antecedent เช่น เราทำข้อตกลงกับเด็กให้เป็นเวลาว่า เล่นเกมได้หลังกินข้าวและห้ามกินขนมก่อนกินข้าว หรือแก้ปัญหาที่ Consequence เช่น พ่อแม่ต้องตกลงร่วมกันว่าจะไม่ตามใจเด็กในเรื่องอื่น ๆ
‘หวังว่าคำแนะนำนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ทุก ๆ คนครับ เพราะการเลี้ยงลูกไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว’