เพื่อนๆ เคยมีความรู้สึกอย่างนี้ไหม? “ฟังแต่ไม่ได้ยิน”
บ่อยครั้งที่เราพูดคุยกันในครอบครัว เราจะต้องการพูดออกไปเพื่อให้อีกฝ่ายรับรู้ในสิ่งที่เราต้องการเอาไว้ก่อน แค่อยากพูดให้ฟังเฉยๆ
แต่แล้วเราซึ่งเป็นผู้ฟัง ก็บอกกับผู้พูดว่า “เออ… อืมม… โอเค…” เหมือนขอไปทีติดดูมือถืออยู่ ซึ่งหลายนาทีต่อมา เราก็กลับไปถามเขาอีกว่า “เมื่อตะกี้พูดอะไรนะ?… เล่าให้ฟังใหม่ซิ?…”
การฟังอย่างมีสติ หรือฟังอย่างตั้งใจ เพื่อรับรู้เรื่องราวของอีกฝ่ายอย่างจริงใจ จะทำให้ผู้พูดที่บอกเล่ามานั้น รู้สึกดีมากเลยครับ ถึงแม้เราซึ่งเป็นผู้ฟังจะยังทำอะไรให้ผู้พูดไม่ได้ก็ตาม และสิ่งที่เราได้ยินจากผู้พูดนั้น กำลังต้องการที่จะหาทางออกของปัญหา หรือระบายอะไรก็ตามแต่…
ทุกๆ ครั้งที่เราเจอลูกๆ และคนในครอบครัว ต้องการที่จะสื่อสารอะไรออกมา ผมจะต้องตั้งใจฟัง อย่างจริงๆ ครับ เพราะการที่ “ฟังแต่ไม่ได้ยิน” นั้นเป็นจะบ่อเกิดของการทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเสียหายได้ครับ ซึ่งบางที่ผมก็เป็นครับ
คุณลองสังเกตุลูกๆ ทุกคน ตอนที่เขายังเด็กอยู่สิครับ เมื่อเขาต้องการสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่รู้ แม้เขาจะเพิ่งเริ่มหัดพูดก็ตามแต่ เขาจะเรียก พ่อ.. แม่.. แล้วก็พูดอะไรไปเรื่อยๆ ชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ฟังรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง…
คุณพ่อคุณแม่ ต้องตั้งใจฟังเด็กๆ นะครับ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกนับถือตัวเขาเองและคุณด้วยมากเลยทีเดียวครับ