การพัฒนาการเด็กตามวัย
ช่วงระยะเวลา 3 ปีของชีวิตวัยเด็กเป็นช่วงระยะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสมองของเด็กมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่ควรตะหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ถ้าสังเกตพบว่าเด็กไม่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนในช่วงเวลาหนึ่ง จำเป็นต้องมีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ทันทีครับ
ประเภทของพัฒนาการ
- พัฒนาการทางด้านร่างกาย หมายถึง ความเจริญเติบโตเกี่ยวกับโครงสร้างทางด้านร่างกายทั้งหมด เช่น ขนาด ส่วนสูง รูปร่าง การใช้สายตา ความสามารถในการใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
- พัฒนาการทางด้านอารมณ์ หมายถึง ความเจริญงอกงามของอารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมขณะเกิดอารมณ์
- พัฒนาการทางด้านสังคม หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่น และความสารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในสังคม
- พัฒนาการทางด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ด้านการคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และการตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง
เคล็ดลับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือน
เด็กแรกเกิด – 2 เดือน
- สบตา
- จ้องหน้าพ่อแม่
- คุยอ้อแอ้ ยิ้ม
- ชันคอในท่านอนคว่ำ
วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการ คือ
- กินนมแม่อย่างเดียว
- ยิ้มแย้ม มองสบตา เล่นพูดคุยกับลูก
- เอียงหน้าไปมาช้าๆ ให้ลูกมองตาม
- อุ้มบ่อยๆ อุ้มพาดบ่าบ้าง
- เล่นกับลูกโดยแขวนของเล่นสีสด ห่างจากลูกประมาณ 1 ศอก ให้ลูกมองตาม
- พูดคุยทำเสียงต่างๆ และร้องเพลง
- ให้ลูกนอนคว่ำในที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไป
เด็กอายุ 3 – 4 เดือน
- ชันคอได้ตรงเมื่ออุ้มท่านั่ง
- ส่งเสียงโต้ตอบ
- ไขว่คว้า
- หัวเราะเสียงดัง
- ชูคอตั้งขึ้นในท่านอนคว่ำ
วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการ คือ
- กินนมแม่อย่างเดียว
- อุ้มท่านั่ง พูดคุยทำเสียงโต้ตอบกับเด็ก
- ให้ลูกนอนเปลที่ไม่มืดทึบ
- จัดที่ปลอดภัยให้เด็กหัดคว่ำ คืบ
- เล่นกับลูกโดยชูของเล่นให้ลูกไขว่คว้า
- ชมเชยให้กำลังใจลูกเมื่อลูกทำได้
เด็กอายุ 5 – 6 เดือน
- คืบเองได้
- พลิกคว่ำ พลิกหงายได้
- หันหาเสียงเรียกชื่อ
- ส่งเสียงต่างๆ โต้ตอบ
- จำหน้าแม่และคนคุ้นเคยได้
วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการ คือ
- หาของเล่นสีสดใสชิ้นใหญ่ที่ปลอดภัยให้หยิบ จับ และให้คืบหา
- พ่อแม่ช่วยกันพูดคุย โต้ตอบ ยิ้มเล่นกับเด็ก
- พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ ป้อนข้าว
- เวลาพูดให้เรียกชื่อเด็ก
- หาของที่ซ่อนใต้ผ้า หาของให้จับ
เคล็ดลับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 6 – 12 เดือน
เด็กอายุ 7 – 8 เดือน
- นั่งทรงตัวได้เอง
- เปลี่ยนสลับมือถือของได้
- มองตามของตก
- กลัวคนแปลกหน้า
วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการ คือ
- อุ้มน้อยลง ให้เด็กคืบและนั่งเล่นเอง โดยมีพ่อแม่คอยระวังอยู่ข้างหลัง
- ให้เล่นของเล่นที่มีสี และขนาดต่างกัน เช่น ลักษณะผิวเรียบ – หยาบ และอ่อน – แข็ง
- ให้เด็กจับสิ่งของ – ออก จากถ้วยหรือกล่อง
- กลิ้งของเล่นให้เด็กมองตาม
- เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือกับเด็ก
เด็กอายุ 9 – 12 เดือน
- คลานขึ้นบันไดได้
- เกาะยืนได้ในช่วงสั่นๆ
- ตบมือ โบกมือได้
- ใช้มือทั้งสองข้างทำงานคนละอย่างได้
- เริ่มรู้จักทำตามใจตนเอง
- เลียนแบบสีหน้า ท่าทางของคน
- แยกตัวเองและเงาในกระจกได้
- เริ่มพูดเป็นคำๆ เช่น พ่อ แม่
วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการ คือ
- จัดที่ให้เด็กคลาน และเกาะเดิน อย่างปลอดภัย
- ให้เด็กมีโอกาสเล่นของเล่นหลากหลาย โดยอยู่ในสายตาผู้ใหญ่
- เรียกเด็กชูของเล่นให้เด็กสนใจเพื่อลุกขึ้นจับ
- พูดชมเชย เมื่อเด็กทำสิ่งต่างๆ ได้
ครับแน่นอนว่า ของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกก็คือ คุณพ่อคุณแม่นั่นแหละครับ ไม่ว่าเราจะหาของเล่นราคาแพงแค่ไหน ก็ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยเวลาที่พ่อแม่มี ที่จะเล่นกับลูกๆ หลอกนะครับ สู้สู้… ครับ